3/06/2557

นิยายผี/นิยายสยองขวัญ สุนทรียภาพแห่งความกลัวในโลกหนังสือ

นิยายผี นิยายสยองขวัญ
นิยายผี นิยายสยองขวัญ
นิยายผี/นิยายสยองขวัญ สุนทรียภาพแห่งความกลัวในโลกหนังสือ

นิยายผี/นิยายสยองขวัญ (Gothic Novel) แม้จะมีความสยองขวัญซ่อนอยู่ในเนื้อเรื่อง แต่ในความน่ากลัวนั้นมีความงามของภาษาและเสน่ห์ทางด้านศิลปะแอบแฝงอยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับคนอ่านแต่ละบุคคลว่าจะสามารถทำความเข้าใจและเข้าถึงนิยายผีเพียงใด แน่นอนว่าประสบการณ์เป็นสิ่งเดียวที่นักอ่านนิยายผีต้องบ่มเพาะเอาไว้ เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวเอาองค์ความรู้ในนิยายผีมาตอบสนองในชีวิตประจำวัน

หนังสือศัพท์วรรณกรรม เขียนโดย กอบกุล อิงคุทานนท์ อธิบายว่า... “นิยายผี/นิยายสยองขวัญ (Gothic Novel) เป็นนิยายประเภทหนึ่งซึ่งเฟื่องฟูในปลายศตวรรษที่ 18-19 ลักษณะสำคัญของนิยายประเภทนี้จะมีความลี้ลับเวทมนต์และความกล้าหาญเยี่ยงอัศวิน โดยมีความน่ากลัวสยองขวัญอบอวลอยู่ เช่นการฟื้นคืนชีพของอัศวินเสื้อเกราะ หรือเต็มไปด้วยเรื่องผีสาง ปรากฏการณ์ลึกลับเก่าแก่น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ เป็นต้น ฮอเรส วอลโพล (Horace Walpole) ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดนิยายผีในเรื่อง Castle of Otranto (1764) ฉากของนิยายเรื่องนี้เป็นปราสาทในยุคกลางซึ่งมีทางใต้ดิน ประตูกล บันไดเวียน และห้องลับซึ่งประตูสามารถเปิดเองได้อย่างไม่คาดฝัน และต่อมาก็มีผู้เขียนนิยายผีสืบต่อกันมา ที่โด่งดังคุ้นหูคนไทยก็คือ แฟรงเกนสไตน์ ของแมรี่ เชลลี่ เป็นต้น นิยายผีได้แพร่ไปทั่วในยุโรปโดยเฉพาะเป็นที่นิยมกันมากในเยอรมนี นอกจากนี้นิยายผียังมีอิทธิพลต่อวรรณกรรมรูปแบบอื่นด้วน เช่น กวีนิพนธ์ยุคโรแมนติกและเรื่องสั้น เช่น งานของเอ็ดการ์ แอลเลนโพ เป็นต้น ปัจจุบันนิยายผีก็ยังใช้เรียกงานที่สร้างบรรยากาศให้ลึกลับเขย่าขวัญซึ่งแม้จะไม่มีฉากเหมือนบรรยากาศยุคกลางแบบสมัยก่อนก็ได้ เช่นเรื่อง รีเบ็คก้า ของ มอริเอร์ เป็นต้น บางคนได้จัดนิยายผีอยู่ในประเภทย่อยของนิยายประวัติศาสตร์”

นิยายผี/นิยายสยองขวัญให้ความรู้และความเข้าใจในชีวิตได้หลายแง่หลายมุมอย่างลึกซึ่งไม่แพ้นิยายประเภทอื่น โดยเฉพาะนิยายผีที่บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นจากนักเขียนผีฝีมือขั้นเทพ เห็นได้จากนิยายผีที่เป็นอมตะมีผู้นิยมอ่านจากอดีตถึงปัจจุบัน นิยายผีเหล่านั้นไม่เพียงให้ความบันเทิงอย่างเดียว แต่ได้ซ่อนความสุนทรีย์แห่งความงามด้านภาษาและศิลปะเอาไว้ จึงทำให้ผลงานเป็นอมตะมาถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม นิยายผีในปัจจุบันก็ให้คุณค่าแก่สังคมอยู่หลายด้านด้วยกัน หากศึกษานิยายผีอย่างจริงจังก็จะเห็นองค์ความรู้ในอีกรูปแบบหนึ่ง แน่นอนว่าย่อมแตกต่างกับองค์ความรู้ประเภทอื่นแน่นอน

หากย้อนไปดูเรื่องราวของภูตผีปิศาจอันเป็นรากเหง้าของนิยายผี ทุกชาติทุกภาษามีเรื่องเล่าประเภทนี้อยู่คู่ชุมชนเสมอ สิ่งนี้บ่งบอกได้ว่า ภูตผีปิศาจมีความเป็นสากลที่ทุกประเทศในโลกแสดงออกตรงกัน เห็นได้จากเรื่องภูตผีปิศาจที่ถ่ายทอดข้ามวัฒนธรรมในรูปแบบนิยายผีหรือภาพยนตร์สยองขวัญ ไม่ว่าผลิตในประเทศไทยหรือนำเข้าจากต่างด้าวมีการนำเสนอในรูปแบบใกล้เคียงกันคือ มีความน่ากลัวซ่อนอยู่ในเรื่องเล่าทั้งหน้ากระดาษและแผ่นฟิล์ม

ความเป็นสากลของนิยายผี/นิยายสยองขวัญ ทำให้วิเคราะห์สังคมมนุษย์ได้หลายแง่มุม เพราะทั้งที่สังคมที่มีภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างกันแต่แสดงออกเรื่องภูตผีปิศาจคล้ายกัน ผู้ผลิตนิยายผีและภาพยนตร์สยองขวัญจึงนำเอาจุดนี้มาสร้างผลงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง นิยายผีหลายเล่มแม้จะถูกสร้างมาจากซีกโลกหนึ่งแต่ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั่วโลก สิ่งเหล่านี้ยืนยันได้ถึงศิลปะความเป็นสากลของนิยายผีที่ทุกคนบนโลกเข้าถึงได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นิยายผีแทบทุกเรื่องใช้ความกลัวเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเล่าเรื่อง แน่นอนว่าความกลัวมีผลต่อร่างกายหลายอย่าง ด้านนักจิตวิเคราะห์ได้อธิบายว่า ร่างกายจะหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาในขณะที่เกิดความกลัว สารเคมีที่ว่าชื่อ อะดรีนาลิน (Adrenalin) อันเป็นฮอร์โมนในร่างกายทำให้ตับอ่อนผลิตน้ำตาลในเลือดมากขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อไหวตัวต่อกระแสสัญญาณประสาท แน่นอนว่าผู้ได้รับอะดรีนาลินย่อมมีผลทั้งในแง่บวกและลบ หากได้รับมากเกินไปจะทำให้แขนขาสั่นสะท้าน หัวใจเต้นแรง และเลือดที่เลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายจะไหลกลับไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้น ทำให้สมองขาดเลือดถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ในทางกลับกันหากได้รับสารอะดรีนาลินในจุดที่สมดุลก็จะทำให้ร่างกายสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีขึ้น แน่นอนว่าความกลัวจากนิยายผีก็สร้างฮอร์โมนชนิดนี้ได้เหมือนกัน เห็นได้จากบรรยากาศชวนขนลุกในนิยายผีที่ทำให้คนอ่านขนลุกซู่ตามไปด้วย อาการลักษณะนี้เรียกว่า สารอะดรีนาลินกำลังทำงาน เมื่อผ่านไปสักครู่จะทำให้ร่างกายเบาโหวงและผ่อนคลายไปทั่วร่างกาย อาการเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการถึงจุดสุดยอดในระหว่างมีเพศสัมพันธ์

อย่างไรก็ตามนิยายผีในสังคมไทยไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนักวิจารณ์เท่าไหร่ เพราะอคติในหลายเรื่อง จึงทำให้นิยายผีถูกจัดเป็นหนังสือชั้นสอง นักวิจารณ์ไม่ได้หยิบยกองค์ความรู้ในนิยายผีมาตีแผ่แก่นักอ่าน มิหนำซ้ำยังแสดงความเห็นไปในทางตำหนิ อย่างไรก็ตาม นิยายผีหลายเล่มได้พิสูจน์ตัวเองถึงความโดดเด่น เห็นได้จากนิยายผีหลายเล่มจากนักเขียนผีหลายคนได้รับการกล่าวถึงปากต่อปากเสมอ อาจกล่าวได้ว่า บรรณาพิภพไทยไม่เคยว่างเว้นจากนิยายผี และเป็นที่น่ายินดีว่าในนิตยสารชั้นนำหลายฉบับในเมืองไทยก็ยังคงมีนิยายผีเพื่อเป็นทางเลือกกับนักอ่าน

นิยายผี/นิยายสยองขวัญถือเป็นงานประพันธ์แขนงหนึ่งที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ นักอ่านใดที่สามารถเข้าถึงเรื่องราวที่นักเขียนถ่ายทอดไว้ในงานประพันธ์ ก็จะได้รับรสชาติที่เกิดพร้อมกับความปิติสูงสุดในระหว่างการอ่านนิยายผี ตามทฤษฎีรสในวิชาอลังการศาสตร์ของอินเดีย นิยายผีจะมีสุนทรีย์หรือความงามหรือไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทางด้านภาษาของนักอ่าน แน่นอนว่านักอ่านต้องมีหน้าที่ตีความหมายของเรื่องราวในนิยายผีด้วยตัวเอง

นักอ่านที่ต้องการเข้าถึงนิยายผีอย่างลึกซึ้งควรศึกษาทฤษฎีรสในวิชาอลังการศาสตร์ของอินเดียไว้เป็นเบื้องต้นดังนี้

1. คฤงคารรส คือความซาบซึ้งในความรัก เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะรัก
2. หาสยรส คือความสนุกสนาน เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะขบขัน
3. กรุณารส คือความสงสาร เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะทุกข์โศก
4. เราทรรส คือความแค้นเคือง เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะโกรธ
5. วีรรส คือความชื่นชมในความกล้าหาญ เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว
6. ภยานกรส คือความเกรงกลัว เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะกลัว
7. พีภัตสรส คือความชิงชัง เป็นอารมณ์ตอบสนองภาวะน่ารังเกียจ
8. อัทภูตรส คือความอัศจรรย์ใจ เป็นอา